ชีวิตเราเศร้าแค่ไหน 3 ตอนจบ
เราเดินทางมาถึงส่วนการรักษากันแล้วนะค่ะ หน้าที่ของจิตแพทย์อาจแตกต่างจากแพทย์ทั่วไปตรงที่ในการรักษาเราต้องรักษาไป พร้อมกัน 3 ด้านคือ ด้านเคมี ด้านจิตใจของผู้ป่วยและด้านสภาพแวดล้อม
ด้านเคมี คือ การให้ยาเพื่อช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมอง โดยปกติจะให้ต่อเนื่องยาวนานไป 6 เดือนนับจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการปกติ
แต่ในกรณีเป็นซ้ำมากกว่า 3 ครั้งหรือมีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้าก็มีความจำเป็นที่จะต้องให้ยาป้องกันระยะยาว
ด้านจิตใจของผู้ป่วย คือ
แนะนำผู้ป่วยต้องเข้าใจธรรมชาติของโรคว่าการมีอารมณ์เศร้าและความคิดในแง่ลบ ดังนั้นเมื่อเกิดความคิดลบหรือความเศร้าจนเกินไปให้รู้ตัว แต่ไม่คิดตาม เพราะเป็นความคิดของโรคไม่ใช่ความคิดของเรา สิ่งที่พึงทำคือ ออกกำลังกาย เลือกทำกิจกรรมรู้สึกว่ามีความสุข สิ่งที่ไม่พึงทำคือ ตั้งเป้าหมายเรื่องต่างๆสูง ตัดสินใจเรื่องที่สำคัญเช่น การหย่า การลาออก
ด้านสภาพแวดล้อม คือ การให้คำแนะนำญาติและคนรอบข้าง สิ่งที่น่าเห็นใจผู้ป่วยซึมเศร้าคือด้วยอาการของโรคอาจทำให้คนรอบข้างเข้าใจว่าเป็นนิสัยที่เปลี่ยนไป ถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง ไม่รักตัวเอง เกิดคำถามในใจชวนให้หงุดหงิดว่าทำไมเรื่องแค่นี้ต้องเศร้าขนานนั้น
ดังนั้น ความเข้าใจและการปฏิบัติของคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดจึงสำคัญกับอาการของผู้ป่วย สิ่งที่ควรทำความเข้าใจและปฏิบัติคือ
1.ยอมรับว่าผู้ป่วยไม่สบาย เป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องซึมเศร้าเหมือนคนเป็นหวัดก็มีน้ำมูก
2.แบ่งแยกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากสมองซึมเศร้า ไม่ใช่ตัวตนของผู้ป่วย
3.รู้จักจังหวะในการเข้าหา ผู้ป่่วยอาจต้องการใช้เวลาส่วนตัวหรือต้องการพูดคุยเพื่อระบาย
4.กล้าถามความคิดฆ่าตัวตาย เพราะเป็นอาการนึงของโรค
5.งดคำพูดต้องห้าม “อย่าคิดมาก” “เลิกคิดได้แล้ว” “ต้องเข้มแข็ง”
จำไว้นะค่ะว่า ชีวิตเราต่างมีความเศร้าเป็นปกติ มากน้อยตามจังหวะชีวิต ต่อให้มากจนเป็นโรคซึมเศร้าเราก็สามารถหายได้ ง่ายนิดเดียว