จากกรณีแสนปิติ โพสข้อความทางการเมืองที่มีบางข้อความแสดงถึงการตัดสิน และกระทบจิตใจคนบางกลุ่มในสังคม เป็นเหตุให้ทัวร์ลงหนักอย่างไม่ทันตั้งตัว
แล้ววันรุ่งขึ้น อ.ชัชชาติผู้เป็นพ่อ
ได้ถูกเชิญสัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้
การตอบคำถามสะท้อนถึงมุมมองและกระบวนการคิดของอาจารย์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
และนำไปสู่การสื่อสารและการรับมือกับลูกชาย
1.พ่อคือพ่อ ลูกคือลูก และทุกคนมีความคิดของตัวเอง (หลายครั้งเวลาที่ลูกทำผิดหากพ่อแม่ไม่แยกแยะเราอาจพบพฤติกรรม 2 แบบ 1.เข้าข้าง2.ต่อว่าและบ่นเพื่อให้ลูกยอมคิดตามตัวเอง)
การแยกแยะตัวตนสะท้อนได้จากความคิดที่ว่า “ผมไม่ได้เห็นด้วยกับทุกสิ่งที่ลูกเขียน เขามีสิทธิ์คิดและแสดงออก แต่ต้องสร้างสรรค์ ไม่พาดพิงใคร
2.ไม่เข้าข้าง แต่ไม่ทอดทิ้ง สรยุทธถามว่า “ เป็นเพราะยังเด็ก หรือเพราะเรียนต่างประเทศรึป่าว” อาจารย์ชัชชาติอยู่กับข้อเท็จจริง โดยบอกว่า “อายุ 23 ไม่เด็ก และลูกก็เรียนต่างประเทศแค่สามปี สิ่งเหล่านี้เอามาเป็นข้ออ้างในการกระทำไม่ได้ “แต่สิ่งที่อาจารย์จะทำคือตั้งใจหาเวลาฟังและพูดคุยกับลูกให้มากขึ้น
3. ลูกทำผิดพลาดได้แต่สำคัญคือต้องเรียนรู้อาจารย์ไม่ได้มีน้ำเสียงหรือท่าทีโกรธในการกระทำของลูก แต่จริงจังว่าเขาจะได้เรียนรู้อะไร
4.ฟังคงมีบางอย่างที่ทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่มีปัญหา และการจะเข้าใจปัญหาคือต้องตั้งใจให้เวลารับฟัง
5.เชื่อใจในคุณค่าตัวตนของลูก และมองปัญหาเป็นเรื่องพฤติกรรมการสื่อสารที่ฝึกฝนและแก้ไขได้ (จากน้ำเสียงและเนื้อความ ลูกยังเป็นคนดีที่มีปัญหาการสื่อสาร)
6.ความรับผิดชอบทุกคนต้องรับผิดชอบผลของการกระทำของตัวเอง รับผิดชอบแทนกันไม่ได้ ขอโทษแทนกันก็ไม่ได้ ถ้าลูกจะรู้สึกแย่จากการที่ทัวร์ลงก็ต้องให้รู้สึก พรอแม่ทำได้แค่อยู่เคียงข้าง และตระหนักว่าเราต้องมีเวลาให้ลูกมากขึ้น
7.ทุกคนมีทางเลือกเมื่อพ่อแม่รับฟังพูดคุยเพื่อให้เขาเข้าใจตัวเองและผลกระทบแล้วเขาจะเลือกรักผิดชอบต่อความผิดหรือความรู้สึกผิดของตัวเองอย่างไร เป็นสิ่งที่เขาต้องตัดสินใจเอง เพราะการกระทำนั้นจะเกิดจากควรมจริงใจ
8.เราทุกคนมีอารมณ์มีความคิดได้ แต่ไม่จำเป็นต้องตามใจอารมณ์และความคิดเสมอไป โดยเฉพาะการแสดงออกที่ไม่สร้างสรรค์
————-
1. Parents and children are separate individuals, and everyone has their own thoughts. It is important to respect their individuality and not impose our beliefs on them.
2. Not taking sides but not abandoning them either. Instead, finding time to listen and communicate more with the child.
3. Acknowledging mistakes while emphasizing the importance of learning from them.
4. Actively listening and dedicating time to understand the issues that may lead to problematic behavior.
5. Trusting in the self-worth of the child and seeing communication issues as something that can be learned and improved.
6. Encouraging personal responsibility and not substituting apologies or taking responsibility for someone else.
7. Everyone has choices to make, and it is up to the individual to decide how to respond to their mistakes or feelings of guilt.
8. Acknowledging that everyone has emotions and thoughts but recognizing the importance of not always acting on those emotions and thoughts, especially in ways that are not constructive.
This perspective on parenting and communication shows the importance of understanding, trust, and personal responsibility in dealing with issues that arise in relationships between parents and their children.